กำจัดขน
รักษาได้ ด้วยเลเซอร์
โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง และเลเซอร์
กำจัดขน
ผิวของคนเรามีเส้นขนเป็นส่วนประกอบ ขนมีหลายลักษณะ อาจมีสีดำ สีน้ำตาล หรือสีอื่น ๆ ตามลักษณะเฉพาะทางกรรมพันธุ์ เส้นขนปกคลุมตามผิวหนังส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เช่น ผิว คิ้ว ขนตา แขน ขา ใต้วงแขน และบริเวณจุดซ่อนเร้น ซึ่งขนในแต่ละบริเวณจะมีความหนาและความยาวไม่เท่ากัน
ปัจจัยที่กระตุ้นการสร้างขน
ปกติแล้วเส้นขนจะขึ้นตาบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายในอัตราปกติ ซึ่งแต่ละบริเวณมีอัตราการขึ้นไม่เท่ากัน เช่น ขนบริเวณใบหน้ายาวขึ้นวันละ 0.06 มิลลิเมตร ขณะที่ขนบริเวณลำตัวยาวขึ้นวันละ 0.12 มิลลิเมตร การงอกของขนแตกต่างกันไปตามปัจจัยที่มากระตุ้น ดังนี้
- ช่วงวัยรุ่น หรือช่วงอายุ 15 ปี ในเพศหญิง และ 13 ปี ในเพศชาย เป็นช่วงที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) ออกมาในปริมาณมากส่งผลให้มีเส้นขนขึ้นมากในบริเวณเหนือริมฝีปาก และจุดซ่อนเร้น เส้นขนในบริเวณใต้วงแขนจะเริ่มงอกหลังจากนั้น 2 ปี ซึ่งเส้นขนเหล่านี้ยังคงอยู่แม้ว่าฮอร์โมนนี้ลดน้อยลงแล้วก็ตาม
- ช่วงตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ในบางรายอาจมีขนขึ้นที่ริมฝีปาก คาง หรือข้างแก้ม ซึ่งภาวะเหล่านี้จะหมดไปเองภายหลังจากการคลอดบุตร
- ช่วงวัยทอง หรือช่วงภาวะหมดประจำเดือน เป็นช่วงที่รังไข่ของเพศหญิงหยุดการทำงาน ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจนเพิ่มขึ้นเพื่อทดแทน ซึ่งในรายที่ระดับฮอร์โมนปกติ ขนจะขึ้นเป็นปกติ แต่ในบางรายที่ไวต่อฮอร์โมนแอนโดรเจนโดยไม่มีสาเหตุ จะขึ้นดกมากกว่าปกติ
- เชื้อชาติ ชาวยุโรปและตะวันตก มีเส้นขนมากกว่าชาวเอเชีย
- การใช้ยา การใช้ยาสเตียรอยด์ ยากันชัก ยากดภูมิต้านทาน หรือยาทรีทเมนต์ต่างๆ ส่งผลให้เส้นขนมีปริมารเพิ่มมากขึ้นได้
ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นวีการกำจัดเส้นขนในหลายรูปแบบ เพื่อสร้างความมั่นใจ และเสริมบุคลิกภาพ โดยสามารถจำแนกได้หลายวิธี ดังนี้
- การโกน เป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็ว แต่เส้นขนจะงอกกลับขึ้นมาใหม่ในระยะเวลาสั้น ๆ แลดูแข็งและหยาบมากกว่าเดิม
- การถอน เป็นอีกวีที่ได้รับความนิยม แต่เป็นวิธีที่เจ็บ และเสี่ยงต่อการเกิด “ขนคุด” จากการถอนที่ไม่ถูกวิธี หรืออุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะอาดเส้นขนใหม่ที่งอกขึ้นมาไม่พ้นผิวหนังอาจกลายเป็นจุดสีดำแทน หรือมีการติดเชื้อฝีหนอง
- การใช้ยา ยาที่ใช้มีทั้งที่เป็นครีม เจล แป้ง หรือสเปรย์โฟม ทาบริเวณที่ต้องการกำจัดเส้นขน โดยปล่อยให้ตัวยาซึมเข้าสู่รูขุมขน เพื่อให้เส้นขนหลุดออกมา ข้อเสียคืออาจเกิดอาการแพ้ยาที่ใช้ได้ อีกทั้งขนจะยาวออกมาใหม่และดูแข็งกว่าเดิม
- การใช้ขี้ผึ้ง มีทั้งแบบเหลวและแบบกาว เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกคือทาขี้ผึ้งให้ติดแถบกาวไว้ที่บริเวณที่ต้องการกำจัดเส้นขนออก ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วดึงออกอย่างรวดเร็ว แต่เป็นวิธีที่เจ็บมากและไม่ถาวร
- การใช้ฮอร์โมน ฮอร์โมนบางชนิดสามารถทำให้เส้นขนหยุดการเจริญเติบโตได้ แต่เสี่ยวกับผลข้างเคียงที่อันตราย เช่น กระตุ้นการโตของเนื้องอกบางชนิดได้
- การกำจัดขนด้วยเครื่องกระแสไฟฟ้า คือการกำจัดเส้นขนด้วยคลื่นไฟฟ้า โดยการใช้อุปกรณ์ปล่อยคลื่นไฟฟ้าผ่านไปยังรากขน ทำให้รากขนอ่อนแอและตายในที่สุด จากนั้นจึงใช้แหนบไฟฟ้าดึงเส้นขนออกการกำจัดขนวิธีนี้ เจ็บมากๆๆและอาจมีรอยบุ๋ม รอยแผลเป็น รอยดำบริเวณที่จี้และต้องใช้ระยะเวลานานในการกำจัดขน
ที่สุดของการรักษาด้วยการใช้เลเซอร์ ที่ทีมแพทย์ BSL Clinic เลือกใช้
เป็นการใช้พลังงานจากแสงเลเซอร์กำจัดเฉพาะเซลล์เม็ดสีของเส้นขนที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวหนังเลเซอร์มี 2 ชนิด โดยสามารถลงไปทำงานในรากผมเพื่อทำลายสเต็มเซลล์ ด้วย Laser Hair removal by Lumenis หรือ Long Pulse-Nd:YAG
การรักษาทำประมาณเดือนละครั้ง เฉลี่ยประมาณ 4-5 ครั้ง รากขนจะค่อย ๆ ถูกทำลายไปจนหมดโดยที่ผิวหนังไม่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้ผลกว่า และเจ็บน้อยกว่าการถอนเส้นขนแบบอื่นๆ โดยสามารถกำจัดเส้นผมได้ในทุกบริเวณในร่างกาย เช่น ที่ใบหน้า รักแร้ น่อง แขน ขา ซึ่งเป็นที่นิยมและได้ผลดีมาก นอกจากนั้นบริเวณหนวด เครา หน้าท้อง หรือจุดซ้อนเร้นก็สามารถกำจัดขนได้
การทำงานของเลเซอร์ที่ BSL Clinic
เลือกใช้ซึ่งจะเข้าไปทำลายถึงรากขนจึงจะได้ผลการรักษาในระยะยาว
ผลการรักษาคนไข้ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ BSL Clinic
วิธีการกำจัดขนแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของขน สภาพของผิวหนัง และความเหมาะสมอื่น ๆ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อคำแนะนำที่ถูกต้อง
บริเวณที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเช่นที่หนวดผู้ชายเนื่องจากมีความหนาแน่นและเกิดจากฮอร์โมน ซึ่งต่างจากบริเวณรักแร้หรือขาแขนที่รักษาได้ง่ายกว่า แต่ BSL Clinic ก็สามารถรักษาขนหนวดได้เช่นกัน
คนไข้คนนี้ ต้องการกำจัดหนวด ซึ่งทำการรักษาด้วยเลเซอร์กำจัดขน บริเวณหนวดซึ่งเป็นบริเวณที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ
หลังการรักษา ด้วยเลเซอร์กำจัดขนทันทีในครั้งแรก โดยไม่มีผลข้างเคียงหลังทำ โดยจะมีอาการบวมแดงเล็กน้อย และหลังทำ 6 ครั้งแล้วติดตามผลการรักษานาน 1 ปี พบว่าจำนวนขนหายไปจำนวนมาก ผลดีขึ้นอย่างชัดเจน
คนไข้คนนี้ มีปัญหาขน บริเวณร่างกาย ซึ่งต้องทำการรักษาด้วยเลเซอร์กำจัดขน ในการทำต้องใช้ความเชี่ยวชาญของแพทย์
หลังการรักษา ด้วยเลเซอร์กำจัดขน หลังทำ 5 ครั้งแล้ว พบว่าจำนวนขนหายไปจำนวนมาก ผลดีขึ้นอย่างชัดเจน
เขียนบทความโดย
นพ. วุฒินันท์ สิทธิผลวนิชกุล
(Wutinan Sithipolvanichgul, M.D.)
ผู้เชี่ยวชาญด้านเลเซอร์ผิวหนังและการออกแบบรูปหน้า รูปร่าง
Dermatologist
Specialized in Dermatologic Surgery and Laser