ลดเหงื่อ กลิ่นตัว – Bangkok Aesthetic Clinic

ลดเหงื่อ กลิ่นตัว

ลดเหงื่อ กลิ่นตัว

สร้างความมั่นใจ กลับมาอีกครั้ง
โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง และเลเซอร์

ภาวะที่มีเหงื่ออออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis)

การหลั่งเหงื่อออกมาภายนอกร่างกาย เป็นภาวะปกติของร่างกาย ในการควบคุมอุณหภูมิ โดยจะมีการส่งผ่านปลายประสาทอัตโนมัติ แต่ในบางคนพบว่ามีการหลั่งเหงื่อออกมามากกว่าปกติ มักพบที่บริเวณ รักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า รวมถึงใบหน้าและลำตัว หากเกิดที่บริเวณรักแร้ อาจทำให้มีการอับชื้น เกิดกลิ่นเหงื่อหรือมีกลิ่นตัวแรงได้ ภาวะนี้มักพบได้บ่อยโดยเฉพาะในวัยรุ่น เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกและไม่สบายใจอย่างมาก มีผลต่อการทำงาน การเข้าสังคม และทางด้านจิตใจ ทำให้เกิดความรู้สึกขาดความมั่นใจ

จากการศึกษา พบว่า

  • ประมาณ 50% เกิดที่รักแร้ โดยอาจเกิดที่รักแร้จุดเดียว หรือร่วมกับที่ฝ่ามือ และ/หรือฝ่าเท้า
  • ประมาณ 29%เกิดที่ฝ่าเท้าที่เดียวและ/หรือร่วมกับจุดอื่นๆ
  • และประมาณ 25% เกิดที่ฝ่ามือที่เดียวและ/หรือร่วมกับจุดอื่นๆ

Hiperhidrosis

ในภาวะปกติ สามารถพบช่วงมีเหงื่อออกมากกว่าปกติได้
เช่น ในการออกกำลังกาย อากาศร้อน อากาศอบอ้าว กินอาหารเผ็ดหรืออาหารร้อน ตื่นเต้น เครียด หรือมีไข้

ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด พบว่าอาจเกิดจากภาวะเครียดวิตกกังวล ตื่นเต้น หรือเกิดจากมีสาเหตุของโรค เช่น พบว่าต่อมไทรอยด์มีการทำงานที่ผิดปกติ

ภาวะหลั่งเหงื่อมากเกิดได้อย่างไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม ?

  • มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรม โดยพบว่ามีประวัติคนในครอบครัวมีภาวะนี้สูงถึงประมาณ 30-65% และในกลุ่มคนที่มีความผิดปกติของยีน บางชนิดจะพบภาวะนี้ได้ประมาณ 25% แต่ในคนที่มีจีน/ยีนนั้นๆปกติ พบภาวะนี้ได้เพียงประ มาณ 1%
  • โรคอ้วน เพราะชั้นไขมันใต้ผิวหนังที่หนาขึ้นจะส่งผลให้ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ดี จึงต้องเพิ่มการระบายความร้อนออกทางเหงื่อ
  • จากการขาดฮอร์โมนเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือนหรือภาวะวัยทอง (Post menopausal syndrome)
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) หรือโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis)
  • โรคเบาหวาน จากร่างกายมีความผิดปกติในการใช้พลังงานและการอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อต่างๆ
  • การติดเชื้อโรคที่ส่งผลให้เกิดอาการไข้เรื้อรัง เช่น โรคมาลาเรีย และวัณโรค
  • โรคหัวใจวายเรื้อรัง เนื่องจากร่างกายต้องใช้พลังงานเพิ่มในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอ ความร้อนในร่างกายจึงสูงขึ้น ซึ่งต้องกำจัดออกโดยการเพิ่มภาวะเหงื่อออก
  • ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาแก้ปวด (เช่น ยาพาราเซตามอลหรือยาที่มีส่วนผสมของมอร์ฟีน) ยาโรคความดันโลหิตสูง ยาโรคเบาหวาน และยาด้านจิตเวช
  • โรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งในโรคมะเร็งอาการเหงื่อออกมากผิดปกติทั่วตัวมักเกิดในช่วงกลางคืน

ภาวะหลั่งเหงื่อมากรุนแรงไหม? มีผลข้างเคียงไหม ?

ภาวะหลั่งเหงื่อมาก มักเป็นภาวะไม่รุนแรง ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง โดยเฉพาะในการเข้าสังคม จากการอับชื้น และมีกลิ่น เช่น กลิ่นตัวเมื่อเกิดในบริเวณรักแร้ และกลิ่นเท้าเมื่อเกิดที่ฝ่าเท้า เป็นต้น นอกจากนั้น ผิวหนังซึ่งเปียกชื้นเสมอ จะติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย และเกิดอาการผื่นคันง่าย

  1. ใช้สารในกลุ่มที่ลดการขับเหงื่อที่มีสารอลูมิเนียมคลอไรด์ (Aluminium chloride) ในรูปของโรลออน ครีม หรือสเปรย์ แต่อาจลดเหงื่อได้เล็กน้อย และต้องใช้บ่อยๆ ในบางรายจึงอาจเกิดการระคายเคืองต่อผิว ทำให้รักแร้เป็นสีดำคล้ำได้
  2. วิธีไอออนโตโฟรเรซิส (Iontophoresis) ที่ผ่านกระแสไฟฟ้าขนาดอ่อนลงสู่ใต้ผิวหนังเพื่อลดเหงื่อ การรักษาวิธีนี้ไม่ถาวร ต้องทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง จึงไม่เป็นที่นิยม
  3. การผ่าตัดต่อมเหงื่อ การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะมีการเลาะต่อมเหงื่อออกไป หรือมีการตัดเส้นประสาทที่มาเลี้ยงต่อมเหงื่อเพื่อให้สั่งงานลดลง แต่การผ่าตัดมักไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากอาจเกิดผลข้างเคียง ได้แก่ แผลเป็น โดยจะมีแผลขนาดเล็กราวๆ 1 ถึง 2 เซนติเมตร หรือพบว่าอาจมีการติดเชื้อได้ในบางราย
  4. ปัจจุบันได้มีการใช้วิธี Dermal modulation ฉีดโปรตีนบริสุทธิ์เพื่อลดเหงื่อ ลดกลิ่นกาย

ซึ่งเป็นการลดการทำงานของประสาทอัตโนมัติ จึงลดอาการเหงื่อออก นอกจากจะช่วยให้ลบรอยเหี่ยวย่นให้ผิวหน้ากระชับตึงดูอ่อนเยาว์แล้ว ยังสามารถแก้ปัญหาภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณใต้วงแขนที่ทำให้คุณเสียความมั่นใจ โดยโปรตีนบริสุทธิ์คลายกล้ามเนื้อ ลดเหงื่อนั้น จะออกฤทธิ์สกัดกั้นการหลั่งสารที่ไปกระตุ้นการเกิดเหงื่อ หลังการรักษาที่ใช้เวลาเพียง 10 นาที และจะควบคุมการเกิดเหงื่อต่อไปอีกนาน 7-8 เดือน ให้คุณสวมใส่ชุดสวยได้มั่นใจมากขึ้น

Reference

  1. Amin, K. (2007). Primary focal hyperhidrosis. Dermatologreview.com Journal, Feb 2007. http://www.dermatologyreview.org/journal/hyperhidrosis.pdf [2013,July18].
  2. Hyperhidrosis http://en.wikipedia.org/wiki/Hyperhidrosis [2013,July18].
  3. Hyperhidrosis http://emedicine.medscape.com/article/1073359-overview#showall [2013,July18].
  4. Kaufmann,H. et al. (2003).Primary hyperhidrosis.Clin Auton Res.13, 96-98.
  5. Sweat gland http://en.wikipedia.org/wiki/Sweat_gland [2013,July18].
  6. Thomas, I. et al. (2004). Palmoplantar hyperhidrosis: a therapeutic challenge. Am Fam Physician. 69, 1117-1121.

เขียนบทความโดย
พญ.วิภาณี อัครภูษิต
(Wipanee Akarapusit M.D.)
Dermatologist (Boston, Massachusetts)
ผู้เชี่ยวชาญด้านเลเซอร์ผิวหนัง การออกแบบรูปหน้า รูปร่าง และเวชศาสตร์ชะลอวัย
Dermatologist (Boston, Massachusetts)
Specialize in Dermal fillers & tissue augmentation , Body Contouring
Specialize in Dermatologic Laser and Surgery

icon email