รังแค คันหนังศีรษะ – Bangkok Aesthetic Clinic

รังแค คันหนังศีรษะ

รังแค คันหนังศีรษะ ผมร่วง ปัญหากวนใจที่ต้องเร่งรักษา

สาเหตุของการเกิดผมร่วงอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุแต่สาเหตุหลักๆมักเกิดจากกรรมพันธุ์ และการเปลี่ยนแปลงของโฮโมนในร่างกายนอกจากนี้แล้วรังแคก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผม

การเกิดรังแคจะเกิดจากการอักเสบของผิวหนังบริเวณศีรษะจึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดการหลุดร่วงของเส้นผมมากกว่าปกติที่สำคัญเมื่อเกิดเป็นรังแคยังทำให้เราเสียบุคลิกภาพกันได้ง่ายๆเพราะรังแคจะเป็นขุยขาวๆอยู่บนหนังศีรษะอันที่จริงๆแล้วรังแคก็คือสวนหนึ่งของหนังศีรษะที่หลุดลอกออกมาและมักหลุดร่วงมาพร้อมกับเส้นผมอยู่ตามเสื้อผ้าหรือเป็นแผ่นเล็กๆติดอยู่ที่เส้นผมบนศีรษะและถ้าปล่อยไว้ไม่ทำการดูแลรักษาอย่างถูกวิธีจะยิ่งเป็นสาเหตุทำให้เส้นผมหลุดร่วงมากยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ

นอกจากนี้รังแคยังเป็นตัวการสำคัญที่อาจจะทำให้เกิดอาการผมร่วงจากกรรมพันธุ์หรือผมร่วงจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเป็นเร็วขึ้นกว่าเดิมได้อีกด้วยดังนั้นถ้าใครที่เริ่มเป็นรังแคในระยะเริ่มแรกควรหาวิธีรักษาเพื่อช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผมและป้องกันการอักเสบของหนังศีรษะ

ภาพลักษณะรังแคบริเวณหนังศีรษะ

สาเหตุของการเกิดรังแค

  • เกิดจากเชื้อราบนหนังศีรษะเชื้อราบนหนังศีรษะโดยทั่วไปแล้วคนเราจะมีกันอยู่ทุกคนแต่จะมีปริมาณมากน้อยแตกต่างกันออกไปสำหรับผู้ที่เป็นรังแคอาจจะเกิดจาปัจจัยต่างๆทำให้เชื้อราบนหนังศีรษะเจริญเติบได้ดีกว่าปกติ
  • สิ่งแวดล้อมภายนอกมลภาวะต่างๆที่เราต้องสัมผัสในทุกวันก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรังแคบนหนังศีรษะได้เช่นกัน
  • ความเครียดผู้ที่มีความเครียดจะทำให้ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายทำงานผิดปกติก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดรังแค
  • แพ้เครื่องสำอางและสารเคมีต่างๆไม่ว่าจะเป็นแชมพูสระผมยาย้อมผมยาดัดผมยายืดผมเป็นต้น
  • โรคเกี่ยวกับผิวหนังและเส้นผม ที่เจอได้บ่อยมากๆ เช่น Seborrheic  dermatitis หรือ โรคสะเก็ดเงิน หรือ โรคผิวหนังและรูขุมขนอักเสบ หรือ โรคติดเชื้อราแบคทีเรีย
ภาพ รังแคบริเวณหนังศีรษะซึ่งเป็นโรคเรื้อรัง
รักษาได้ยากแต่ทาง BSL Clinic รักษาได้ผลดีเกินกว่า 90 %

โดยโรคที่เจอบ่อยสุด มากที่สุดคือ seborrheic dermatitis ซึ่งมักเป็นเรื้อรัง เป็นๆ หาย สร้างความรำคาญใจอย่างมาก ลักษณะอาการคือ เป็นผื่นแดง  หรือเป็นมันเห็นขอบชัดเจนโดยที่ด้านบนจะมีสะเก็ดแห้งๆ เป็นขุนสีขาวเหลือง  ซึ่งมักหลุดลอกออกอยู่บ่อยๆ บริเวณที่มักพบอาการ เช่นถ้าเป็นที่บริเวณหนังศีรษะ เรียกว่า รังแค (Dandruff) อาจเกิดที่บริเวณหน้า ข้างจมูก ระหว่างคิ้ว หลังหู  หรือมีสะเก็ดในหู คอ อาจมีอาการอักเสบที่ตาบริเวณเหนือกระดูกซี่โครง หลังตอนบน และหน้าอก รักแร้ ในวัยทารกมักพบในบริเวณขาหนีบ ใต้อก และสะดือ

ผู้ที่เป็น Seborrheic dermatitis อาจมีการผลิตน้ำมันซึ่งมีกรดผสมอยู่ออกมามาก ทำให้ผิวหนังอักเสบ หรืออาจเกิดจาก  เชื้อยีสต์ที่ชื่อ Malassezia ที่เจริญเติบโตอยู่ในต่อมไขมันพร้อมกับแบคทีเรียซึ่งทำให้อาการอักเสบรุนแรงขึ้น

Seborrheic dermatitis มักพบใน 3 ช่วงอายุ คือ ทารกหลังคลอด วัยรุ่น และวัยสูงอายุ เนื่องจากอาการของ Seborrheic dermatitis คล้ายกับอาการของโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) การวินิจฉัยจึงต้องใช้ความชำนาญพิเศษโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง  อาการของSeborrheic  dermatitis  ยังมีความสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ เช่น พากินสัน โรคทางระบบประสาทและสมอง  และการติดเชื้อ Malassezia ความเครียด ความร้อน เหงื่อ อาหารที่มีส่วนประกอบของยีสต์ ชีสต์ ขนมปัง นม เนย การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น

การป้องกันและรักษา

  1. เลือกใช้แชมพูสระผมที่มีส่วนผสมอย่างใดอย่างหนึ่งของสารเคมีที่ผ่านการรับรองโดย FDA ความเข้นข้นของยาจะมีผลอย่างมากต่อผลการรักษา ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ผิวหนังเป็นผู้สั่ง เพื่อความปลอดภัยในระยะยาว
  2. การใช้เทคโนโลยีในการลดต้นต่อของปัญหาขึ้นกับชนิดของโรค เช่น การลดต่อมไขมันบริเวณหนังศีรษะ
  3. หลังจากสระผมเสร็จแล้วควรเป่าผมให้แห้งอย่าให้เส้นผมแห้งเองหลายคนมักจะชอบสระผมตอนเย็นและเข้านอนทั้งๆที่ผมยังเปียกวิธีแบบนี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะที่เป็นสาเหตุของการเกิดรังแค
  4. หลีกเลี่ยงให้เส้นผมและหนังศีรษะสัมผัสกับสารเคมีต่างๆบ่อยจนเกินไปเช่นในช่วงที่ต้องการรักษารังแคควรหยุดการใช้สารเคมีต่างๆกับเส้นผมจนกว่ารังแคจะหายไม่ว่าจะเป็นการย้อมผมดัดผมหรือยืดผมเป็นต้น
  5. ส่วนประกอบในยาสระผม หรือผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับหน้งศีรษะต้องมั่นใจว่ามีความอ่อนโยนสูง ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองเนื่องจากจะไปกระตุ้นตัวโรคให้แย่ลงได้
  6. ขณะที่สระผมควรนวดหนังศีรษะตรงบริเวณที่เป็นและทิ้งไว้สักพัก5-10นาที แล้วจึงล้างออก  เพื่อทำให้สารซึมซาบลงสู่ผิวหนังและให้ได้ผลดี
  7. ลดความเครียดและนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอรวมทั้งควรรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์โดยเฉพาะผักและผลไม้ต่างๆ

ในกรณีที่เป็นมากควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉันและทำการรักษาอย่างถูกวิธีโดยไม่จำเป็นต้องทนกับรังแคอีกต่อไป

เขียนบทความโดย
นพ. วุฒินันท์ สิทธิผลวนิชกุล
(Wutinan Sithipolvanichgul, M.D.)
ผู้เชี่ยวชาญด้านเลเซอร์ผิวหนังและการออกแบบรูปหน้า รูปร่าง
Dermatologist
Specialized in Dermatologic Surgery and Laser

icon email