
โรครังแคบนใบหน้า หรือ “เซ็บเดิร์ม ” (Seborrheic Dermatitis) เปนโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่พบบ่อย อีกชนิดหนึ่ง โดยพบได้ใน 2 กลุ่มอายุ คือ วัยทารก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 เดือน และวัยผู้ใหญ่ทุกช่วงอายุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ผู้ใหญ่ในช่วงวัย 40-60 ปี โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV หรือในกลุ่มที่มีโรคทางระบบ ประสาท โดยเฉพาะโรคพาร์กินสันจะพบเป็นผื่นรุนแรง และรักษายากกว่าในคนปกติทั่วไป

สาเหตุของโรค
สาเหตุที่แท้จริงของโรครังแคบนใบหน้า นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง บริเวณนั้น มีการสร้างไขมันมากกว่า ปกติหรือเกิดจากส่วนประกอบของไข มันที่สร้างขึ้นมามีความผิดปกติ ร่วม กับการพบเชื้อยีสต์ Malassezia furfur ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคเกลื้อน เพิ่มจำนวนมากขึ้นบริเวณผิวหนังที่มี ผื่น ซึ่งยีสต์ชนิดนี้จะกระตุ้นระบบ ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ก่อให้เกิดเป็น ผื่นผิวหนังอักเสบตามมา นอกจากนี้ปัจจัยภายนอกบางอย่าง ก็ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดผื่นได้ เช่น ความเครียด สภาพอากาศร้อน และ แสงแดด เป็นต้น
อาการแสดง
ผื่นในช่วงวัยทารก อาจพบได้ตั้งแต่เด็กมีอายุ 1 สัปดาห์ โดยมักพบผื่นที่บริเวณหนังศีรษะ มีลักษณะ เป็นผื่นแดง ขอบเขตชัดเจน มีขุยมัน ๆ สีขาวอม เหลืองปกคลุม ในรายที่เป็นมาก ผื่นอาจมีสะเก็ด ลอกเป็นแผ่นหนา ๆ หรือมีน้ำเหลืองซึม ผื่นของโรครังแคบนใบหน้าอาจเป็นได้ทั่วทั้งหนัง ศีรษะ หรืออาจพบผื่นที่บริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ใบหน้า หลังหู บริเวณข้อพับ รักแร้ ขาหนีบ หรือในรายที่เป็นรุนแรงก็อาจพบผื่นได้ทั่วทั้งตัว
สำหรับผู้ใหญ้ ผื่นของโรครังแคบนใบหน้าพบได้ บ่อยที่สุดบริเวณหนังศีรษะและใบหน้า โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง บนผิวหนังบริเวณที่มีการผลิตไขมันจาก ต่อมไขมันมากกว่าปกติได้แก้ ข้างจมูก คิ้ว ใบหู หลังหูหน้าอก รักแร้หรือบริเวณขาหนีบ ผู้ป่วยมัก มีอาการคัน ในบางรายอาจพบผื่นแดงอักเสบที่หนัง ศีรษะ หน้าอก และแผ่นหลังร่วมด้วย
การรักษา
เนื่องจากโรครังแคบนใบหน้าในทารกมักหายเองได้ การดูแลรักษาหลักจึงยังไม้จำเป็นต้องใช้ยา แต่อาจ เริ่มด้วยการดูแลรักษาผิวหนังทั่วไป ได้แก่ การทา ครีม โลชั่น หรือน้ำมันที่มีคุณสมบัติในการเพิ่ม ความชุมชื้นแก้ผิวหนัง โดยทาลงบนผื่นหลังอาบน้ำ เสร็จใหม่ ๆ อักเสบของผิวหนังเช่นเดียวกับในเด็ก นอกจากนี้ การใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำมันดิน หรือแชมพู ขจัดรังแคที่มีส่วนผสมของซีลีเนียมซัลไฟด์ ซิงค์ ไพริไทออน กรดซาลิไซลิก หรือยาต้านเชื้อราคีโต โคนาโซล ก็สามารถทำให้ผื่นที่หนังศีรษะดีขึ้นได้ ในรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจให้ยาต้านเชื้อรา ชนิดรับประทานร่วมด้วย
การพยากรณ์โรค
การพยากรณ์โรคของโรครังแคบนใบหน้าในเด็กดี กว่าในผู้ใหญ่มาก เนื่องจากผื่นมักหายเองได้เมื่อ เด็กโต โดยที่ไม้พบว่าเด็กที่เคยมีประวัติเป็นโรค รังแคบนใบหน้า จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเมื่อโตเป็น ผู้ใหญ่ ส่วนในผู้ใหญ่นั้น โรคมักเรื้อรัง ผู้ป่วยส่วน ใหญ่มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ ตามแต่ปัจจัยกระตุ่น ผู้ป่วยจึงไม้ควรวิตก กังวลมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ เครียด และ กระตุ่นให้เกิด โรคมากขึ้นอีก
ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว และ หนังศีรษะที่ปราศจากสารที่อาจก่อความระคาย เคือง เช่น สารกันบูด หรือน้ำหอม ในรายที่ผื่นเป็น มากและรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ โดยแพทย์อาจ ให้การรักษาด้วยยาทาที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา หรือยา ทาในกลุ่มสเตียรอยด์อ่อน ๆ เพื่อลดอาการอักเสบ ของผิวหนังซึ่งจะแนะนำให้ใช้ในช่วงเวลาสั้น ๆ
ในผู้ใหญ่ โรครังแคบนใบหน้า มักเป็นเรื้อรัง การรักษาอาจเริ่มด้วยการรักษาผิวหนังทั่วไป เช่น เดียวกับในวัยเด็ก ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ โรคกำเริบ อาทิแสงแดด ความเครียด และครีมที่ มีส้วนผสมของสารก่อความระคายเคือง
ในรายที่เป็นมากควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งแพทย์ อาจให้การรักษาด้วยยาทาที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา หรือ ยาทาในกลุ่มสเตียรอยด์อ่อน ๆ เพื่อลดอาการ