การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน – Bangkok Aesthetic Clinic

การเตรียมตัวก่อนดูดไขมัน

9 คำถามก่อนการดูดไขมัน การดูดไขมันแม้เป็นเพียงการผ่าตัดเล็กที่คนไข้สามารถกลับบ้านได้เลยภายในวันนั้นได้เลยแต่การผ่าตัดก็ควรมี การเตรียมพร้อมที่ดี เพื่อความปลอดภัยและผลการรักษาที่ดีกับคนไข้ (Guidelines of care for liposuctionby the American Academy of Dermatology)

1. การดูดไขมันคืออะไร ?

เพื่อเป็นการปรับรูปร่างหรือการลดไขมันส่วนเกินออก จึงไม่ใช่เป็นการลดน้ำหนักครับ การลดน้ำหนักที่ดีที่สุดคือการออกกำลังการร่วมกับการควบคุมอาหารดังนั้นหลังดูดไขมันจึงควรออกกำลังกายร่วมกับการควบคุมอาหารควบคู่กันด้วย (เพิ่มเติม รีวิวการดูดไขมัน (Liposuction) คำถามก่อนดูดไขมัน http://pantip.com/topic/31984563)

2. แล้วคนไข้แบบไหนถึงควรทำและผลการรักษาควรเป็นอย่างไรหลังทำ?

คนไข้บางคนที่ควบคุมน้ำหนักแล้วแต่ก็ยังมีไขมันส่วนเกินอยู่อยากให้รูปร่างดูดี มีความโค้งเว้ามากขึ้นแบบนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะในการดูดไขมัน (good candidate)โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายเพื่อประเมินผลการรักษาด้วยครับ(ดั้งนั้นแพทย์ควรแนะนำคนไข้ที่จะทำการดูดไขมันว่าวิธีนี้เหมาะสมหรือไม่หรือวิธีอื่นเหมาะสมกว่า และที่สำคัญคือว่าคนไข้จะได้ผลตรงตามจุดประสงค์ของคนไข้ไหม ถามหมอที่ท่านรักษาได้เลยครับ

ภาพก่อนและหลังการรักษา
แบบนี้ถือว่าอยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่ดีในการดูดไขมัน (good candidate)

3. ต้องครวจเลือดไหม ?

ทางที่ดีควรมีการตรวจเลือดเช่น การตรวจเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด (CBC with platelet count) การแข็งตัวของเลือด ( PT, PTT, TT) เกลือแร่ในร่างกาย และการทำงานของตับ (Electrolyte, Liver Function Test) ตรวจการตั้งครรภ์ (Pregnancy Test) การติดเชื้อเช่น เอดส์และไวรัสตับอักเสบบี (Anti-HIV and Hepatitis B) ร่วมถึงการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG โดยทั้งหมดเพื่อความปลอดภัยของคนไข้ก่อนการทำหัตถการ (การตรวจอาจมีมากน้อยตามโรคประจำตัวของคนไข้ด้วย

4. ควรงดยาก่อนผ่าตัดไหม ?

ยาละลายลิ่มเลือดหรือรบกวนการแข็งตัวของเลือด (Aspirin, Warfarin) ยาแก้ปวด (NSAID) วิตามิน อี(Vitamin E) และยาที่มีผลต่อตับ เช่น ยาสมุนไพรต่างๆ (Herbal remedies) ควรหยุดทานก่อนการผ่าตัด

5. ค่าใช้จ่ายในการรักษาและหลังการรักษา ?

เรื่องนี้แล้วแต่สถานที่และความละเอียดชำนาญของแพทย์ เลยบอกยากครับ

6. ตอนทำจะรู้สึกอย่างไร ?

สามารถวางยาสลบหรือการใช้ยาชาเฉพาะที่ก็ได้ครับโดยปกติมักทำแบบการใช้ยาชาเฉพาะที่ร่วมกับการให้ยานอนหลับ หลังทำคนไข้สามารถกลับบ้านในวันนั้นได้เลยและคนไข้ก็ไม่ค่อยเจ็บครับ(คนไข้ส่วนใหญ่มักจะหลับตื่นมาก็เสร็จละ) แต่การวางดมยาสลบอาจจำเป็นในคนไข้ที่ต้องการการดูดไขมันในปริมาณมาก เช่น 5 ลิตรขึ้นไปหรือขณะดูดไขมันคนไข้ต้องนอนคว่ำ(กลัวเรื่องการหายใจ)

7. ความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น?

การผ่าตัดทุกชนิดมีความเสี่ยงดังนั้นควรมีการเตรียมพร้อมที่ดีและแพทย์ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำเป็นสำคัญครับ โดยอาจเกิด การติดเชื้อ, บวม, การแทงเครื่องมือทะลุเยื่อบุช่องท้อง,ชาบริเวณที่ดูดไขมัน, โดยผลข้างเคียงที่รุนแรงที่สุด คือ ไขมันอุดเส้นเลือด ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ครับ (U S Food and Drug Administration,2012)แต่หลังทำคนไข้มักจะบอกว่าไม่น่ากลัวอย่างที่คิดนะ มีคนจากกระทู้ถามว่า ผิวไม่เรียบเกิดจากอะไร เกิดเนื่องจากเทคนิคในการดูดไขมัน โดยถ้ามีความชำนาญและการดูดไขมันมีความสม่ำเสมอในชั้นเดียวกันของไขมันโอกาสเกิดผลข้างเคียงน้อย (เพิ่มเติม รีวิวการดูดไขมัน (Liposuction) คำถามก่อนดูดไขมัน http://pantip.com/topic/31984563)

8. คืนก่อนผ่าตัดควรทำอย่างไร ?

พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้สบายไม่ต้องกังวลครับ ถ้าคุณได้วางแผนและการเตรียมพร้อมการรักษาเป็นย่างดีแล้ว ผลลัพธ์ออกมาดีแน่ (ในคนไข้บางคนอาจให้ยานอนหลับคืนก่อนการรักษาเพราะความตื่นเต้นกังวลอาจทำให้นอนพักผ่อนไม่เพียงพอดูเป็นกรณีไปครับ

9. ต้องหยุดงานไหม ?

แนะนำให้หยุดงาน 3 วันขึ้นไปสำหรับการเปลี่ยนแผลและความสะดวกของคนไข้ แต่หลังทำคนไข้สามรถเดินหรือทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ(ถ้าไหวก็ทำงานได้เลยขออย่างน้อย 2-3วัน)หลังทำคนไข้ส่วนใหญ่สามารถกลับบ้านได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล เว้นในกรณีที่มีการดูดไขมันในปริมาณที่มากหรือมีโรคประจำตัวที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด

การออกกำลังการร่วมกับการควบคุมอาหารเป็นสิ่งสำคัญในการดูเเลสุขภาพ โดยทั้งหมดนี้เป็นการรวมรวมจากประสบการณ์ในการดูดไขมันของผู้เขียนเพื่อให้คนไข้มีความเข้าใจและมีความปลอดภัย ในการรักษาเพื่อพิจารณาไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนก่อนการดูดไขมัน ที่สำคัญคือได้ผลการรักษาที่ดีที่สุดครับ

เรียบเรียง นพ. วุฒินันท์ สิทธิผลวนิชกุล
MSc in Dermatology, UK Master in liposuction and fat grafting, The European College.
แพทย์ศาสตร์บัณฑิต รพ. รามาธิบดี [อ้างอิงหลักจาก;Svedman KJ, Coldiron B, Coleman WP,
Cox SE, Jacob C, Lawrence N, etal. (2006) ASDS guidelines of care for tumescent
liposuction. American Society for Dermatologic Surgery. 32(5),709–716]

icon email